ตาขี้เกียจ คืออะไร? แนะวิธีป้องกันก่อนสายเกินแก้!
ตาขี้เกียจ คืออะไร? แนะวิธีป้องกันก่อนสายเกินแก้!
หากคุณกำลังรู้สึกว่าดวงตาทำงานไม่ประสานกัน ทั้งที่มองจากภายนอกก็ไม่เห็นความผิดปกติใด ๆ แต่กลับมองเห็นภาพเบลอ หรือไม่ชัดเจนเท่าที่ควร บางครั้งอาการเหล่านี้อาจไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะมันอาจเป็นอาการแรกเริ่มของ ตาขี้เกียจ ที่ส่งผลต่อการมองเห็นในระยะยาว บทความนี้เราขอพาทุกท่าน มาทำความรู้จักตาขี้เกียจ คืออะไร? พร้อมแนะวิธีป้องกันก่อนสายเกินแก้
ตาขี้เกียจ เกิดจากอะไร? รู้สาเหตุก่อนแก้ไข
ตาขี้เกียจ (Amblyopia หรือ Lazy Eye) คือ ภาวะพัฒนาการมองเห็นผิดปกติ และไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก หรือที่เรียกกันว่าตาขี้เกียจในเด็ก ที่แม้ในช่วงผู้ใหญ่จะมีการแก้ไขสายตาภายหลังแล้ว แต่การไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็มักส่งผลให้สมองปิดการรับรู้การมองเห็น ตาสองข้างมองเห็นไม่เท่ากัน โดยภาวะตาขี้เกียจสาเหตุ มีดังนี้
- ปัญหาสายตาผิดปกติแล้วไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่วัยเด็ก เช่น สายตาสั้นมาก, สายตายาวมาก, สายตาเอียงมาก เป็นต้น
- โรคตาเหล่ ตาเขในวัยเด็ก (Strabismic amblyopia) โดยตาข้างที่เหล่สมองจะปิดการรับรู้การมองเห็น เพื่อไม่ให้เกิดภาพซ้อนเวลามองสองตาพร้อมกัน
- โรคหนังตาตกในเด็ก หากไม่ได้รับการแก้ไขหนังตาตก ดวงตาข้างนั้นก็จะมองเห็นไม่ชัดอีกต่อไป
- โรคต้อกระจกในเด็ก ที่ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากจะเป็นตาขี้เกียจแล้วยังเสี่ยงทำให้ตาบอดถาวร
อาการตาขี้เกียจ ที่ผู้ปกครองต้องสังเกต
อาการตาขี้เกียจในเด็ก
ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการของเด็กอยู่เสมอ เช่น หากพบว่ามีหนังตาตก มีจุดขาวที่กระจกตา มีอาการตาเข ติดมองใกล้ ฯลฯ ควรพาไปพบจักษุแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อทำการรักษา แต่ถ้าไม่พบความผิดปกติจากภายนอก แนะนำทดสอบด้วยการปิดตาเด็กทีละข้าง จากนั้นให้แกว่งของเล่นไปมา หากข้างที่ไม่ได้ปิดตาไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ตอบโต้ ก็มีความไปได้ว่าอาจมีความเสี่ยง
อาการตาขี้เกียจในผู้ใหญ่
สำหรับภาวะตาขี้เกียจในผู้ใหญ่ อาการที่เห็นได้ชัด คือแม้จะมีการแก้ไขปัญหาสายตาที่ผิดปกติแล้ว ทั้งในเรื่องสายตายาว สายตาสั้น หรือสายตาเอียง แต่ก็ยังมีอาการมองภาพไม่ชัดเจนอยู่เหมือนเดิม โดยส่วนมากจะเป็นอาการตามัวตั้งแต่เด็ก ที่ไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็นระยะเวลานาน สำหรับการวินิจฉัยโรคตาขี้เกียจ มีดังนี้
- ตรวจประเมินการมองเห็น ได้แก่ การตรวจวัดสายตา และการตรวจวัดระดับการมองเห็น เป็นต้น
- ตรวจประเมินสุขภาพดวงตา ได้แก่ การตรวจภาวะตาเหล่ ตาเข และการตรวจภาวะหนังตาตก เป็นต้น
ตอบคำถามยอดฮิต ตาขี้เกียจรักษาได้ไหม?
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า หากตรวจพบอาการตาขี้เกียจในผู้ใหญ่ กรณีนี้จะ ไม่สามารถรักษาได้ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่สมองปิดรับรู้การมองเห็นไปแล้ว แต่หากเป็นวัยเด็กจะสามารถแก้ไขได้ ดังนี้
1. ตรวจพบตั้งแต่เด็กก่อนอายุ 7-8 ปี : สามารถกระตุ้นการรักษาให้ดวงตาข้างที่ขี้เกียจ พอที่จะกลับมามองเห็นได้ โดยใช้วิธีแก้ไขปัญหาการมองเห็นในเด็ก เช่น การสวมแว่นแก้ไขสายตา หรือการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาในกรณีที่เด็กตาเหล่ ตาเข เป็นต้น
2. ตรวจพบหลังช่วงอายุ 7-8 ปี : การรักษาตาขี้เกียจอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากพัฒนาการด้านการมองเห็นของสมองหยุดการรับรู้การมองเห็นแล้ว ดังนั้น หากตรวจพบภายหลังอายุ 9 ปีไปแล้ว วิธีแก้ไขจะเป็นเพียงการแก้ไขตามอาการเท่านั้น
วิธีป้องกันโรคตาขี้เกียจ รู้ก่อน ลดเสี่ยงก่อน
- แนะนำให้พ่อแม่เด็กสังเกตพฤติกรรมการมองเห็น ตั้งแต่วัยก่อน 7-8 ปี หากพบความผิดปกติให้รีบแก้ไขโดยเร็ว
- หากพบว่าเด็กมีภาวะตาเหล่ ตาเข ให้รีบพบจักษุแพทย์เพื่อทำการแก้ไขการมองเห็น
- หากพบว่าเด็กมีหนังตาตก แนะนำให้พบจักษุแพทย์เพื่อประเมินภาวะตาขี้เกียจ
- แนะนำให้พ่อแม่พาลูกไปตรวจประเมินการมองเห็นทุก ๆ 6 เดือน ในช่วงอายุก่อน 7-8 ปี เพื่อลดความเสี่ยง
สรุป
ภาวะตาขี้เกียจ คือภาวะที่สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก หากมีการตรวจพบก่อนอายุ 7 8 ปี จะสามารถดำเนินการแก้ไจให้ตากลับมามองปกติที่สุดได้ แต่หากเป็นวัยผู้ใหญ่จะไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ดังนั้นผู้ปกครองควรหมั่นพาลูก เช็กสุขภาพตาในทุก ๆ 6 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงหากพบอาการผิดปกติ
ที่ Dr.Ouise Eye Clinic ให้บริการประเมินค่าสายตา เช็กสุขภาพตา และตัดเลนส์แว่นคุณภาพ ให้เหมาะกับปัญหาของคุณ หากมีปัญหาเรื่องดวงตาที่ไม่เหมาะสม สามารถเข้ามาปรึกษาจักษุแพทย์และนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาและแก้ไขแบบตรงจุด
บทความโดย
หมออุ๊ย แพทย์หญิง วชิรา สนธิไชย
จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านการแก้ไขปัญหาสายตาและเลนส์โปรเกรสซีฟ
สาขาของเรา
- DR.OUISE EYE CLINIC
ที่ตั้ง ซอยพหลโยธิน 92 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130
เปิดบริการทุกวัน 10.00-18.00 น.
- DR.OUISE EYE SPECIALIST
ห้าง Fashion Island ชั้น 2 ห้องเลขที่ 2040B
เลขที่ 587,589,589/7-9 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม 10230
เปิดบริการทุกวัน 10.00-22.00 น.