สายตาสั้นเทียม คืออะไร? อาการที่หลายคนอาจไม่รู้ตัว
สายตาสั้นเทียม คืออะไร? อาการที่หลายคนอาจไม่รู้ตัว
มองจอทั้งวันจนตาพร่า เบลอ แต่พอพักสายตาดันกลับมาชัดเหมือนเดิมซะงั้น? อาการเหล่านี้อาจไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อีกต่อไป เพราะคุณอาจกำลังเผชิญหน้ากับ สายตาสั้นเทียม ภัยร้ายที่กำลังคืบคลานเข้ามาแบบไม่รู้ตัว บทความนี้เราพาทุกท่าน ไปทำความรู้จักกับสายตาสั้นเทียม พร้อมวิธีดูแล ก่อนปัญหาจะลุกลามไปสู่ภาวะสายตาสั้นถาวร
ทำความรู้จักภาวะ สายตาสั้นเทียม ภัยเงียบของคนติดจอ
สายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อตา ซึ่งทำหน้าที่ปรับโฟกัสในการมองระยะใกล้ทำงานผิดปกติ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการมองภาพหรือวัตถุในระยะใกล้เป็นเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดการเกร็งค้าง และทำให้การมองเห็นระยะไกลพร่ามัว หากเรามีภาวะกล้ามเนื้อตาเกร็งค้างบ่อย ๆ อาจนำไปสู่การเกิดอาการสายตาสั้นเทียมได้ และส่วนใหญ่มักเกิดสายตาสั้นเทียมในเด็กจนถึงวัยรุ่น ได้มากกว่าวัยผู้ใหญ่
ทำไมเรียกสายตาสั้นเทียม? เพราะหากกล้ามเนื้อตาหายเกร็งค้างแล้วก็จะสามารถกลับมามองภาพระยะไกลชัดปกติ ไม่ได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างลูกตาอย่างถาวร แต่หากปล่อยไว้ก็เสี่ยงต่ออาการสายตาสั้นถาวร
สาเหตุของการเกิดสายตาสั้นเทียม มีอะไรบ้าง?
- การเล่นมือถือเกิน 3 ชั่วโมงต่อครั้ง ติดต่อกันนานเป็นสัปดาห์
- การอ่านหนังสือระยะใกล้เป็นเวลานาน โดยไม่มีการพักสายตา
- การทำงานศิลปะชิ้นเล็ก ที่ต้องใช้สายตาจ้องมองในระยะใกล้เป็นเวลานาน
- งานอื่น ๆ ที่ต้องใช้สายตาจ้องมองในระยะใกล้เป็นเวลานาน
ภาวะสายตาสั้นจริงจะส่งผลให้การมองภาพไกลไม่ชัดตลอดเวลา แต่สำหรับภาวะสายตาสั้นเทียม อาการที่เห็นได้ชัด คือ มีอาการมองไม่ชัดค่อนข้างทันที (ก่อนหน้ามองชัดปกติ) นอกจากนี้อาจมีอาการปวดกระบอกตา หนักตา ตาล้า ปวดศีรษะ แพ้แสง บางรายอาจมองเห็นภาพชัดสลับเบลอ มองภาพซ้อน หรือในเด็กบางคนอาจทำให้ตาเหล่เข้าใน
ภาพจาก : www.thaihealth.or.th
วิธีการป้องกันและการแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดสายตาสั้นเทียม
สายตาสั้นเทียม รักษาได้ไหม? จริง ๆ แล้วอาการนี้ไม่ได้เป็นอาการที่เป็นตลอดค่ะ หากเราใช้สายตาแบบพอดี และปฏิบัติตามคำแนะนำด้านล่างนี้ ก็ช่วยลดภาวะดังกล่าวได้แล้ว
- พยายามหลีกเลี่ยงการเล่นเกมบนมือถือให้ไม่เกิน 30 นาทีต่อครั้ง หรือลดชั่วโมงในการเล่นให้น้อยลง
- หากอ่านหนังสือ ควรสลับไปมองภาพหรือวัตถุระยะไกลบ้าง เพื่อลดการเพ่งของดวงตา
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้สายตาในบริเวณที่แสงน้อย เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักเกินไป
- ใช้หลัก 20/20/20 คือ ทุกๆ 20 นาที ให้เปลี่ยนไปมองภาพวัตถุระยะไกลที่ 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที
- เลือกใช้เลนส์แว่นตาที่มีคุณสมบัติลดการเมื่อยล้าดวงตา จากการเพ่งของกล้ามเนื้อตาที่ใช้งานมากจนเกินไป
สรุป
ดังนั้น การเกิดสายตาสั้นเทียมมีสาเหตุหลักมาจากการที่เราใช้สายตาในการเพ่งมองระยะใกล้เป็นเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดการเกร็งค้าง และส่งผลทำให้การมองภาพระยะไกลไม่ชัดในระยะหนึ่ง ซึ่งเมื่อเราหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อตาได้ ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อตาไม่ทำงานหนักจนเกินไป และไม่ก่อให้เกิดภาวะสายตาสั้นเทียมตามมา
การใช้เลนส์แว่นตาที่มีคุณสมบัติช่วยลดการเพ่ง ลดอาการตาล้า และลดการปวดตา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดการเกิดสายตาสั้นเทียมได้เช่นกัน ที่ Dr.Ouise Eye Clinic ให้บริการออกแบบเลนส์ให้เหมาะสมกับการทำงานหน้าจอโดยเฉพาะ เพื่อช่วยลดภาวะสายตาสั้นเทียมที่อาจเกิดขึ้น พร้อมให้ดูแลโดยจักษุแพทย์และนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ ที่ช่วยคัดสรรเลนส์และแว่นตาที่ดีที่สุดสำหรับดวงตาของคุณ
บทความโดย
หมออุ๊ย แพทย์หญิง วชิรา สนธิไชย
จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านการแก้ไขปัญหาสายตาและเลนส์โปรเกรสซีฟ
สาขาของเรา
- DR.OUISE EYE CLINIC
ที่ตั้ง ซอยพหลโยธิน 92 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130
เปิดบริการทุกวัน 10.00-18.00 น.
- DR.OUISE EYE SPECIALIST
ห้าง Fashion Island ชั้น 2 ห้องเลขที่ 2040B
เลขที่ 587,589,589/7-9 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม 10230
เปิดบริการทุกวัน 10.00-22.00 น.