แชร์

สายตายาวคืออะไร? เข้าใจสาเหตุ อาการ และการรักษา

อัพเดทล่าสุด: 17 เม.ย. 2025
1283 ผู้เข้าชม

สายตายาว เป็นปัญหาด้านสายตาที่มักเกิดกับผู้ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่สะดวกเหมือนเมื่อก่อน เช่น การอ่านหนังสือ หรือการใช้โทรศัพท์ เป็นต้น ภาวะสายตายาวจะทำให้มองเห็นภาพหรือวัตถุระยะใกล้ไม่ชัดเจน อาจรู้สึกเคืองตาหรือปวดหัว จากการที่ต้องเพ่งสายตาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้คุณภาพชีวิตลดลงได้ ด้วยเหตุนี้เอง Dr. Ouise Eye Clinic จึงจะพามารู้จักภาวะนี้กันมากยิ่งขึ้น ทั้งสาเหตุ อาการที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ วิธีการรักษา รวมถึงแนะนำการดูแลสุขภาพตาสำหรับผู้มีสายตายาว เพื่อให้ทุกคนสามารถดูแลรักษาสายตาของตนเองได้อย่างเหมาะสม และลดความเสี่ยงที่อาจทำให้มีอาการที่รุนแรงขึ้นได้ในระยะยาว



สายตายาว (Hyperopia) คืออะไร

สายตายาว (Hyperopia) คือ ภาวะที่มีความผิดปกติทางสายตา ไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ตัวได้อย่างชัดเจน แต่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลได้เป็นอย่างดี ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงที่ไม่กระทบเข้าสู่จอประสาทตาโดยตรง แต่มีการตกกระทบที่บริเวณหลังจอประสาทตา ทำให้เกิดการมองเห็นภาพจากระยะใกล้ไม่ชัดเจน

สายตายาวตามอายุ (Presbyopia)

สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากการสูญเสียความยืดหยุ่นของเลนส์ตาตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถโฟกัสภาพระยะใกล้ได้ดีเหมือนเดิม และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงได้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือหรือการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน เป็นต้น

สายตายาวโดยกำเนิด (Hyperopia)

สายตายาวโดยกำเนิด (Hyperopia) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างลูกตา เช่น กระบอกตาสั้นกว่าปกติ หรือกระจกตามีความโค้งน้อยเกินไป เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การตกกระทบของแสงผิดตำแหน่งไปจากเดิม ซึ่งโดยปกติแล้วภาวะนี้มักไม่แสดงอาการในช่วงแรกเพราะกล้ามเนื้อตาของเด็กมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเพ่งสายตาตามธรรมชาติเพื่อปรับโฟกัสสำหรับการวัตถุระยะใกล้ได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นกล้ามเนื้อตาจะค่อย ๆ เสื่อมลง พร้อมกับอาการของสายตายาวที่เด่นชัดแสดงขึ้นมา

 

สาเหตุของสายตายาว

สาเหตุของสายตายาว เกิดได้จากความผิดปกติภายในโครงสร้างดวงตา ที่ส่งผลทำให้แสงไม่สามารถตกกระทบลงบนจอประสาทตาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีปัจจัยหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

ความยาวของลูกตา

ความยาวของลูกตา หากมีกระบอกตาที่สั้นกว่าปกติ อาจส่งผลให้แสงที่กระทบเข้าสู่ดวงตาเกิดการหักเหเข้าสู่บริเวณหลังจอประสาทตา แทนการตกกระทบลงจุดโฟกัสของจอประสาทตา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มองเห็นภาพระยะใกล้ไม่ชัดเจน

ความโค้งของกระจกตา

ความโค้งของกระจกตา มีลักษณะเช่นเดียวกับความผิดปกติของความยาวลูกตา หากกระจกตามีความโค้งน้อยเกินไป จะทำให้ไม่สามารถหักเหแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ภาวะสายตายาวในที่สุด

ความโค้งของเลนส์แก้วตา

ความโค้งของเลนส์แก้วตา หากมีลักษณะที่โค้งน้อยเกินไป อาจทำให้เลนส์ตาไม่สามารถหักเหแสงเข้าสู่จอประสาทตาได้เพียงพอ จนเกิดอาการมองเห็นภาพระยะใกล้ไม่ชัดเจนขึ้นได้

กรรมพันธุ์

กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวมีประวัติสุขภาพด้านสายตา อาจเพิ่มโอกาสที่บุตรหลานจะได้รับการถ่ายทอดความผิดปกตินี้ด้วยเช่นเดียวกัน

 

 

อาการของสายตายาว

อาการของสายตายาว ที่พบได้บ่อยมักมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • มองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพเบลอเลือนลาง
  • มีอาการตาล้า ปวดศีรษะ เวียนหัว หลังการใช้สายตาจดจ้องเป็นเวลานาน
  • ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในช่วงเวลากลางคืน หรือพื้นที่ที่มีแสงน้อย
  • ดวงตามีอาการไวต่อแสง หรือมีอาการแสบตาหากต้องอยู่ในสภาวะที่มีแสงจ้า
  • ใช้ชีวิตประจำไม่สะดวกมากขึ้น เช่น การขับรถ การอ่านหนังสือ และเดินสะดุดบ่อยครั้ง เป็นต้น

 

การวินิจฉัยสายตายาว

การวินิจฉัยสายตายาว สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบดังต่อไปนี้

การตรวจวัดสายตาโดยจักษุแพทย์

การตรวจวัดสายตาโดยจักษุแพทย์ ในขั้นตอนเบื้องต้นจักษุแพทย์จะทำการซักประวัติ เพื่อสอบถามรายละเอียดที่เกี่ยวข้องภาวะด้านสายตา ทั้งอาการที่เกิดขึ้น กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงประวัติทางการแพทย์ของบุคคลในครอบครัว เพื่อทำการประเมินความผิดปกติ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมให้ผู้เข้ารับการตรวจในแต่ละบุคคล

เครื่องมือและเทคโนโลยีในการวินิจฉัย

เครื่องมือและเทคโนโลยีในการวินิจฉัย หลังทำการซักประวัติ จักษุแพทย์ทดสอบความสามารถด้านการมองเห็นโดยละเอียดของผู้เข้ารับการตรวจ โดยการใช้เครื่องมือหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  • ตรวจวัดการมองเห็น (Visual Acuity Test) : เป็นการประเมินความสามารถในการมองเห็นทั้งระยะใกล้ และระยะไกล โดยการใช้แผ่นทดสอบสายตา (Snellen Chart) ที่มีชุดตัวเลขทั้งหมด 8 แถว ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่ตัวอักษรขนาดใหญ่ ไปจนถึงตัวอักษรขนาดเล็ก
  • ตรวจวัดค่าสายตา (Refraction Test) : เป็นการตรวจวัดเพื่อหาค่าสายตา ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องทดสอบอ่านแผ่นภูมิวัดสายตา ผ่านเครื่องมือ Phoropter และเลนส์สายตาหลายระยะ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจะคอยปรับเปลี่ยนเลนส์ที่เหมาะสมที่สุด และทำให้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
  • ตรวจวัดความโค้งของกระจกตา (Keratometry) : เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการหักเหแสงเข้าสู่จอประสาทตา ที่สามารถบ่งบอกได้อย่างชัดเจนถึงปัญหาด้านสายตา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายตายาว สายตาสั้น หรือสายตาเอียง

 

วิธีการรักษาและแก้ไขสายตายาว

วิธีการรักษาและแก้ไขสายตายาว มีหลายรูปแบบให้เลือกรักษาตามความต้องการ รวมถึงตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็น

แว่นตา

แว่นตา เป็นวิธีรักษายอดนิยมที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านสายตา โดยมีผลข้างเคียงน้อย และมีความปลอดภัยสูง มีขั้นตอนง่าย ๆ คือ หลังการตรวจวัดเพื่อหาค่าสายตา จักษุแพทย์จะนำค่าสายตาที่ได้ มาผลิตเป็นเลนส์ที่แก้ไขปัญหาสายตาได้อย่างเหมาะสม โดยผู้เข้าใช้บริการตัดแว่น สามารถปรับแต่งหรือเลือกเลนส์ที่ต้องการได้ ซึ่งมีทั้งเลนส์ชั้นเดียว (Single Lenses) หรือเลนส์สำหรับมองใกล้ เลนส์สองชั้น (Bifocals Lenses) หรือเลนส์สำหรับมองระยะไกล รวมถึงเลนส์โปรเกรสซีฟ (Progressive Lenses) ที่สามารถมองได้ชัดเจนในทุกระยะ

คอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์ เป็นหนึ่งในทางเลือกการแก้ไขปัญหาสายตายาว ซึ่งมีลักษณะการตรวจวัดที่เหมือนกับการใช้แว่นตา ผู้เข้าใช้บริการสามารถนำค่าสายตาที่ได้มาอ้างอิงสำหรับการเลือกซื้อคอนแทคเลนส์ โดยวัสดุของเลนส์มีให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งแบบชนิดรายวัน หรือชนิดรายเดือน

การผ่าตัดแก้ไขสายตา

การผ่าตัดแก้ไขสายตา เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่จักษุแพทย์จะทำการพิจารณาถึงความเหมาะสมในแต่ละบุคคล โดยรูปแบบที่ได้รับความนิยมมีดังต่อไปนี้

  • LASIK : เป็นการผ่าตัดเลเซอร์แก้ไขความโค้งของกระจกตาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้การหักเหของแสง สามารถตกกระทบเข้าสู่จอประสาทตาในตำแหน่งที่ถูกต้อง
  • PRK (Photorefractive Keratectomy) : เป็นการผ่าตัดเลเซอร์ที่คล้ายคลึงกับรูปแบบ LASIK แต่จะมีการลอกผิวกระจกตาด้านบนออก และใช้เลเซอร์เพื่อปรับความโค้งกระจกตา
  • ICL (Implantable Collamer Lens) : เป็นรูปแบบการผ่าตัดที่มีการฝั่งเลนส์ในดวงตาชนิดถาวร เพื่อช่วยปรับการมองเห็นให้ชัดเจน โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาค่าสายตาที่ซับซ้อน หรือไม่สามารถรักษาด้วยวิธี LASIK และ PRK ได้

การดูแลสุขภาพตาสำหรับผู้มีสายตายาว

การดูแลสุขภาพตาสำหรับผู้มีสายตายาว เพื่อชะลอปัญหาค่าสายตาที่อาจรุนแรงขึ้น มีวิธีดังนี้

  • สวมใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมกับค่าสายตา เพื่อปรับการมองเห็นให้ชัดเจน และลดการจดจ้องหรือเพ่งสายตา ที่อาจทำให้เกิดอาการตาล้า ปวดศีรษะได้
  • หมั่นพักสายตาสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อตาได้พัก และลดอาการตาล้าหรือปวดตาจากการใช้สายตาอย่างหนัก
  • หลีกเลี่ยงการใช้สายตาในพื้นที่แสงน้อย ซึ่งอาจทำให้ดวงตาทำงานอย่างหนัก และเกิดอาการเมื่อยล้าได้ง่าย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยรบำรุง และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตา
  • เข้ารับการตรวจวัดสายตาต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อคอยเช็กสุขภาพตา และตรวจดูความเปลี่ยนแปลงของค่าสายตา

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับสายตายาว

สายตายาวแตกต่างจากสายตาสั้นอย่างไร?

สายตายาวแตกต่างจากสายตาสั้น ตามลักษณะดังนี้

  • สายตายาว : ภาวะที่สามารถมองเห็นระยะไกลได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถมองเห็นใกล้ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากปัจจัยของการหักเหแสงที่ตกกระทบลงบริเวณหลังจอประสาทตา
  • สายตาสั้น : ภาวะที่มองเห็นระยะใกล้ชัด แต่มองระยะไกลภาพที่เห็นจะมีความเบลอ หรือเลือนลาง จากปัจจัยการหักเหของแสงที่ตกกระทบบริเวณหน้าจอประสาทตา

สายตายาวสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

สายตายาว ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถปรับปรุงการมองเห็นด้วยการใช้แว่นตา คอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมกับค่าสายตา รวมถึงการผ่าตัดเลเซอร์ เพื่อให้การมองเห็นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

เด็กเล็กก็มีโอกาสเป็นสายตายาวได้หรือไม่?

เด็กเล็ก สามารถเกิดภาวะสายตายาว ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากภาวะสายตายาวโดยกำเนิด ที่ตอนเด็กอาจยังไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโตขึ้นกล้ามเนื้อตาจะเริ่มเสื่อมถอยลง และแสดงอาการที่บ่งบอกถึงภาวะสายตายาวออกมาได้ในที่สุด

 

ปรึกษาจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

บทความโดย

หมออุ๊ย แพทย์หญิง วชิรา สนธิไชย

จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านการแก้ไขปัญหาสายตาและเลนส์โปรเกรสซีฟ 

 

 


 

สาขาของเรา

  • DR.OUISE EYE CLINIC 
    ที่ตั้ง ซอยพหลโยธิน 92 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130
    เปิดบริการทุกวัน 10.00-18.00 น.

 

  • DR.OUISE EYE SPECIALIST
    ห้าง Fashion Island ชั้น 2 ห้องเลขที่ 2040B 
    เลขที่ 587,589,589/7-9 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม 10230
    เปิดบริการทุกวัน 10.00-22.00 น.

 

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
สายตาสั้น
สายตาสั้น เป็นความผิดปกติที่ทำให้มองเห็นภาพระยะไกลได้ไม่ชัดเจน...
27 มี.ค. 2025
โรคตาแห้ง มีวิธีรักษาอะไรบ้าง คืนความ ชุ่มชื้นให้กับดวงตา
โรคตาแห้ง คือ ภาวะที่เกิดจากความไม่เสถียรของชั้นผิวน้ำตาหรือการอักเสบ...
4 ก.พ. 2025
วุ้นในตาเสื่อมรักษาหายได้ไหมรู้ทันโรคฮิต ของคนอายุ 50+
วุ้นในตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) คือ โรคตาที่มักพบในผู้สูงอายุ...
4 ก.พ. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy