แว่นสายตาเด็ก แพงไหม? ตัดแบบไหนให้ใช่สำหรับลูกรัก
แว่นสายตาเด็ก แพงไหม? ตัดแบบไหนให้ใช่สำหรับลูกรัก
การดูแลสายตาของลูกน้อยเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะเด็ก ๆ มีโอกาสพัฒนาสายตาผิดปกติได้ง่าย ทั้งสายตาสั้นในเด็ก สายตายาว หรือสายตาเอียง หากต้องเลือกแว่นที่ใช่สำหรับลูก ควรพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง? ราคาแพงไหม? บทความนี้เราขอพาทุกท่านไปหาคำตอบ เพื่อช่วยให้ลูกรักมองเห็นชัดเจน ใส่สบาย และดูแลดวงตาอย่างเหมาะสม ในทุกกิจกรรม
วิธีเลือกแว่นสายตาของเด็ก เพื่อการมองเห็นที่ดี
หากลูกรักของคุณกำลังเผชิญหน้าปัญหาสายตา การเลือกแว่นสายตาสำหรับเด็ก เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยพัฒนาการมองเห็นและเพิ่มการเรียนรู้ที่ดี ดังนั้นการเลือกแว่นอย่างเหมาะสม จึงควรพิจารณาทั้งความสบาย ความทนทาน และความปลอดภัย เพื่อให้ลูกใส่แล้วมองเห็นชัดเจนและมีความสุขในทุกวัน
1. ตรวจวัดสายตาโดยผู้เชี่ยวชาญ : เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับการตรวจสอบค่าสายตาเด็ก และสุขภาพตาอื่น ๆ เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ตาขี้เกียจ เป็นต้น
2. เลือกกรอบแว่นที่ใช่ : นอกจากเลือกดีไซน์ที่ลูกชอบแล้ว ผู้ปกครองควรพิจารณาร่วมกันกรอบที่มีน้ำหนักเบา ขนาดพอดีไม่กดจมูก และความทนทาน เพื่อการใช้งานระยะยาว
3. เลือกเลนส์ให้เหมาะ : เด็กเป็นวัยที่มีการเคลื่อนไหวเยอะ ทำให้เสี่ยงต่อการกระแทกบ่อยครั้ง ดังนั้นควรเลือกเลนส์ที่ปลอดภัย เหมาะสมกับกิจกรรม และป้องกันรังสีที่เป็นอันตรายต่อดวงตา เช่น เลนส์พลาสติกเบา เลนส์โพลีคาร์บอเนตทนแรงกระแทก เลนส์ป้องกัน UV และแสงสีฟ้า ฯลฯ
4. สวมใส่แล้วสบาย : ก่อนตัดสินใจสั่งตัดแว่นสายตาเด็ก ควรให้เด็กได้ทอลองใส่จริง ตรวจสอบความกระชับ ไม่หลวม ไม่กดเจ็บ และต้องมีค่าสายตาที่พอดี
5. มีบริการหลังการขาย : เลือกร้านที่มีการปรับแต่งแว่นและรับประกันสินค้า เพราะการมีบริการหลังการขายที่ดี จะช่วยให้พ่อแม่มั่นใจได้ว่าแว่นที่ซื้อมา มีความเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด
แว่นสายตาเด็ก ราคาเริ่มต้นเท่าไหร่? มียี่ห้อไหนบ้าง
เลนส์ที่ใช้สำหรับแก้ไขค่าสายตาในเด็ก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. เลนส์ชั้นเดียวแบบธรรมดาทั่วไป (Single Vision Lens)
ภาพจาก : www.essilor.com
Eyezen Kids (Essilor)
- เลนส์ชั้นเดียวที่ออกแบบพิเศษสำหรับเด็กอายุ 618 ปี เหมาะกับเด็กยุคดิจิทัลที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเป็นประจำ เป็นเลนส์ที่ช่วยให้ความสบายตา ถนอมสายตา ลดอาการเมื่อยล้า พร้อมปกป้องดวงตาจากรังสี UVA, UVB และกรองแสงสีน้ำเงินอมม่วง
- ใช้เทคโนโลยี Eyezen DualOptim Kids ที่มีจุดโฟกัส 2 จุด สำหรับมองไกลและมองใกล้ ซึ่งถ้าเทียบกับเลนส์ชั้นเดียวแบบทั่วไป จะมีจุดโฟกัสอยู่ตรงกึ่งกลางเลนส์เพียงจุดเดียว
- เลนส์ตัวนี้ช่วยให้เด็กมองเห็นได้ชัดเจนทุกระยะ ทั้งไกลและใกล้ในทุกกิจกรรม
- ราคาเลนส์เริ่มต้นที่ 4,200 บาท
2. เลนส์สำหรับควบคุมสายตาสั้น
2.1 เลนส์สำหรับลดการเพ่ง (Accommodation) : จะมีค่า Addition อยู่บริเวณด้านล่างของเลนส์ เพื่อช่วยลดการเพ่งเมื่อต้องใช้สายตามองในระยะใกล้ เช่น อ่านหนังสือหรือใช้หน้าจอเป็นเวลานาน
ภาพจาก : www.eyebizcenter.com
MyopiLUX Plus+ (Essilor)
- เหมาะสำหรับเด็กอายุ 618 ปี ที่ต้องการชะลอสายตาสั้นในเด็ก ซึ่งสามารถชะลอค่าการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้เฉลี่ย 38% พร้อมช่วยกรองแสงสีน้ำเงินอมม่วง และปกป้องดวงตาจากรังสี UV
- โครงสร้างเลนส์คล้ายเลนส์โปรเกรสซีฟ ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสรีระของเด็ก ด้านบนของเลนส์สำหรับมองไกลเห็นชัดเจน ส่วนด้านล่างมีค่า Addition +2.00 DS เพื่อช่วยลดการเพ่งเมื่อต้องมองใกล้ ทำให้ภาพในส่วนนี้อาจมัวเล็กน้อย
- ราคาเลนส์เริ่มต้นที่ 5,400 บาท
2.2 เลนส์สำหรับชะลอความยาวกระบอกตา (Axial length) : มีคุณสมบัติช่วยสร้าง Peripheral myopic defocus ที่ช่วยชะลอการยืดยาวของกระบอกตา ทำให้ลดอัตราการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพจาก : www.ecp.essilor-pro.com
Stellest (Essilor)
- เลนส์ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้เฉลี่ย 67% เมื่อเทียบกับเลนส์ชั้นเดียวทั่วไป เหมาะสำหรับเด็กอายุ 813 ปี
- สวมใส่สบายและให้ภาพที่คมชัด พร้อมช่วยปกป้องดวงตาจากรังสี UV
- มีเทคโนโลยี H.A.L.T. (Highly Aspherical Lenslet Target) อยู่ล้อมรอบเลนส์ ทำหน้าที่ชะลอการยืดยาวของกระบอกตา แต่จะทำให้เด็กมองเห็นชัดเฉพาะตรงจุดกึ่งกลางเลนส์ ส่วนรอบ ๆ จะเห็นภาพมัวเล็กน้อย
- ราคาเลนส์เริ่มต้นที่ 13,500 บาท
ภาพจาก : www.hoyavision.com
MiYOSMART (Hoya)
- เป็นเลนส์ที่ช่วยแก้ไขและชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็ก ที่ได้รับรางวัล Silmo dOr Award 2020 สาขา Vision Category เพราะสามารถช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็ก ได้ถึง 60% เมื่อเทียบกับเด็กที่ใช้เลนส์ชั้นเดียวทั่วไปของ Hoya
- ใช้เทคโนโลยี D.I.M.S. ที่อยู่ล้อมรอบเลนส์ ทำหน้าที่ช่วยชะลอการยืดยาวของกระบอกตา โดยเด็กจะมองเห็นชัดเฉพาะตรงจุดกึ่งกลางเลนส์ ส่วนรอบ ๆ จะเห็นภาพมัวเล็กน้อย
- ราคาเลนส์เริ่มต้นที่ 12,900 บาท
ภาพจาก : www.rodenstock.com
MYCON (Rodenstock)
- ช่วยแก้ไขและชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็ก ได้ถึง 40% เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดีในอนาคต
- โซนที่ช่วยชะลอการยืดยาวของกระบอกตา จะอยู่บริเวณด้านหัวตาและด้านหางตาของเลนส์ หากเด็กเหลือบตาไปมองบริเวณดังกล่าว อาจทำให้เห็นภาพมัว แต่บริเวณตรงกลาง ส่วนบน และส่วนล่างของเลนส์จะมองเห็นชัดตามปกติ
- เด็กอาจต้องใช้เวลาปรับตัวกับเลนส์ประมาณ 12 สัปดาห์
- ราคาเลนส์เริ่มต้นที่ 9,900 บาท
ทำไมถึงควรตัดแว่นสายตาเด็กกับจักษุแพทย์?
การตัดแว่นสายตาเด็ก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการตรวจวัดสายตาโดยจักษุแพทย์ เนื่องจากในกระบวนการตรวจต้องใช้ยาหยอดขยายม่านตา ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น พยาบาลหรือนักทัศนมาตรจะไม่สามารถสั่งจ่ายยาตัวนี้ได้ เพราะการใช้ยาหยอดขยายม่านตา ต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงต่อเด็ก ด้วยการประเมินความกว้างของช่องหน้าม่านตา (Anterior Chamber Angle) และพิจารณาเลือกชนิดของยา ขนาดความเข้มข้น จำนวนครั้งที่หยด และระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนใช้ทุกครั้ง
ยาหยอดขยายม่านตา กับการตรวจวัดสายตาเด็ก เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
การตรวจวัดสายตาในเด็กเล็กเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี มักมีระบบการเพ่ง (Accommodation) ที่ดวงตาสูงมาก ทำให้เวลาตรวจวัดสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Auto Refractor ขณะจ้องมองภาพในเครื่อง ดวงตาของเด็กจะเกิดการเพ่งขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ทำให้ค่าที่วัดได้มักสูงกว่าค่าสายตาจริง ดังนั้น ก่อนตรวจวัดสายตาในเด็ก จึงจำเป็นต้องหยอดยาขยายม่านตาเพื่อคลายกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเพ่ง ลดการเพ่งของดวงตา หลังหยอดยาแล้วต้องรอประมาณ 3045 นาที จึงจะทำการตรวจวัดสายตาได้ สำหรับการตรวจตาในเด็ก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- เด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารหรือยังไม่ให้ความร่วมมือ : มักใช้วิธีตรวจแบบ Objective Refraction ซึ่งการตรวจแบบไม่ต้องอาศัยคนไข้ เช่น การใช้เครื่อง Auto Refractor หรือ Retinoscope โดยนักทัศนมาตรศาสตร์จะตรวจเอง หรือจักษุแพทย์จะเป็นผู้ตรวจก็ได้เช่นกัน
- เด็กโตที่สามารถตอบคำถามและสื่อสารได้ : การตรวจจะทำได้ทั้งสองวิธี ทั้ง Objective Refraction (ตรวจไม่อาศัยคนไข้) และ Subjective Refraction (ตรวจโดยอาศัยการตอบสนองของคนไข้) เช่น การใช้เครื่อง Phoropter เพื่อปรับเลนส์และถามตอบกับเด็ก
ตรวจสายตากับจักษุแพทย์ จำเป็นไหม ดีอย่างไร?
ควรพาเด็กไปตรวจวัดสายตากับจักษุแพทย์อย่างเดียวเลยจริงไหม? คำตอบคือควรเป็นเช่นนั้นค่ะ เพราะนอกจากการใช้ยาหยอดขยายม่านตาตามที่ได้กล่าวไป การตรวจวัดค่าสายตาแต่ละครั้ง จำเป็นต้องมีการตรวจประเมินหลาย ๆ ร่วมกัน ดังนั้นแนะนำว่าควรพาเด็กไปตรวจสายตา และสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินสายตา ดังนี้
1. ตรวจประเมินระดับการมองเห็น (Visual Acuity) : เพื่อดูว่าเด็กมีความสามารถในการมองเห็นมากน้อยเพียงใด หรือดูว่าระดับการมองเห็นเป็นไปตามช่วงอายุของเด็กหรือไม่ เช่น
- อายุ 2 ขวบครึ่ง 3 ขวบ ควรมีระดับการมองเห็นอยู่ที่ 20/70
- อายุ 3 4 ขวบ ควรมีระดับการมองเห็นอยู่ที่ 20/50
- อายุ 4 5 ขวบ ควรมีระดับการมองเห็นอยู่ที่ 20/40
- อายุ 5 6 ขวบ ควรมีระดับการมองเห็นอยู่ที่ 20/30
- อายุ 7 ขวบควรมีระดับการมองเห็นอยู่ที่ 20/20
และต้องดูด้วยว่าควรใช้เทคนิคไหนในการตรวจระดับการมองเห็นของเด็ก เพราะเด็กแต่ละช่วงอายุมีความสามารถในการตอบสนองที่ต่างกัน
2. ตรวจประเมินค่าสายตา (Refractive Errer) : ว่าเป็นไปตามอายุของเด็กหรือไม่ เช่น
- เด็กอายุก่อน 6 ขวบ ควรมีค่าสายตาเป็น +1.00 DS หรือควรมีค่าสายตายาวน้อย ๆ (Low Hyperopia)
- เด็กอายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป ควรมีค่าสายตา 0.00 DS (Emmetropia)
ที่สำคัญต้องมีการเช็กด้วยว่าวิธีการตรวจแบบไหนถึงเหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัย และต้องมีการวัดความโค้งของกระจกตาด้วยว่า มีความโค้งที่ผิดปกติมากน้อยเพียงใด
3. ตรวจประเมินการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ตา (Binocular Vision) :
- เพื่อตรวจดูว่ามีภาวะตาเหล่ (strabismus) ตากระตุก (nystagmus) หรือภาวะตาเขซ่อนเร้น (phoria) หรือไม่หรือ หากมีภาวะตาเหล่ต้องมีการใช้ปริซึม เพื่อวัดขนาดมุมเข
- เพื่อดูว่าตาข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ทำงานหรือทำงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่ (Suppression) รวมไปถึงการเช็กภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia)
4. ตรวจประเมินความสามารถในการมองเห็นภาพ 3 มิติ (Stereopsis) เช่น
- เด็กอายุ 3 ขวบ ควรมี Stereopsis 111.24 Seconds of arc
- เด็กอายุ 4 ขวบ ควรมี Stereopsis 98.1 Seconds of arc
- เด็กอายุ 5 ขวบควรมี Stereopsis 88.68 Seconds of arc
5. ตรวจประเมินการมองเห็นสี (Color Vision Assessment) : หากเด็กมีการมองเห็นสีที่ผิดปกติ อาจบ่งบอกถึงสุขภาพตาบางอย่าง เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม ฯลฯ
6. สุขภาพของดวงตา : คือการเช็กภาพรวมตั้งแต่ภายนอกลูกตาถึงภายในลูกตา เช่น
- การตอบสนองของรูม่านตาต่อแสง (Pupillary Responses)
- ตรวจคัดกรองโรคตาส่วนหน้าและโรคตาส่วนหลัง
เหตุผลที่จักษุแพทย์ต้องตรวจประเมินสายตาเด็กอย่างละเอียด เพราะหากตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว ก็จะสามารถรักษาและแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเกิดภาวะตาบอดหรือภาวะตาขี้เกียจ (amblyopia) เนื่องจากโรคเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ พัฒนาการของเด็ก และอาจส่งผลต่อโอกาสในอาชีพของเด็กในอนาคต
สรุป
การรู้ทันค่าสายตาของเด็กและหาวิธีแก้ไขอย่างถูกต้องโดยทันที เช่น การตัดแว่นสายตาสำหรับเด็กที่เหมาะสมกับค่าสายตา และความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคน มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้เด็กมองเห็นได้ชัดเจน สบายตา ลดความเหนื่อยล้าจากการเพ่ง และทำให้การมองเห็นเป็นธรรมชาติที่สุด
แว่นสายตาเด็ก ตัดที่ไหนดี? ที่ Dr.Ouise Eye Clinic มีทีมจักษุแพทย์และนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมดูแลและตรวจวัดสายตาอย่างละเอียด ด้วยเครื่องมือทันสมัย มาตรฐานระดับมืออาชีพ พื่อให้ได้ค่าสายตาที่แม่นยำ และเหมาะสมที่สุดสำหรับเด็ก
บทความโดย
หมออุ๊ย แพทย์หญิง วชิรา สนธิไชย
จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านการแก้ไขปัญหาสายตาและเลนส์โปรเกรสซีฟ
สาขาของเรา
- DR.OUISE EYE CLINIC
ที่ตั้ง ซอยพหลโยธิน 92 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130
เปิดบริการทุกวัน 10.00-18.00 น.
- DR.OUISE EYE SPECIALIST
ห้าง Fashion Island ชั้น 2 ห้องเลขที่ 2040B
เลขที่ 587,589,589/7-9 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม 10230
เปิดบริการทุกวัน 10.00-22.00 น.